วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีและนวัตกรรมสัมพันธ์กันอย่างไร

ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ดังกล่าวแล้วว่า เทคโนโลยีการศึกษา เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ หรือใช้ ร่วมกับกระบวนการทางจิตวิทยา และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีมิได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพคงที่เสมอไป ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใด ๆ ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเปลี่ยนแปลงสถานที่ เปลี่ยนแปลงเวลา เปลี่ยนบุคคลที่ใช้และบุคคลที่ถูกนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงสถานที่แวดล้อม ก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้ ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น เทคโนโลยีนั้นก็จะยังคงใช้ต่อไป แต่เมื่อประสิทธิภาพลดลง เทคโนโลยีนั้น ๆ จึงต้องมีการปรับปรุงจุดบกพร่องบางส่วน หรือนำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ ซึ่งวิธีการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่หรือวิธีการใหม่ที่นำมาใช้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) ทอมัส ฮิวซ์ (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรมว่า "เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำมาปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา" มอตัน (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) กล่าวว่า "นวัตกรรม หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ" ไชยยศ เรืองสุวรรณ (อ้างในบุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542:13) กล่าวว่า "นวัตกรรม หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น" ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้โดยสรุปว่า "นวัตกรรม เป็นการปรับปรุงดัดแปลงวิธีการเดิม หรือนำเอาวิธีการใหม่มาใช้ในกระบวนการดำเนินงานใดๆ แล้วทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม"

http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page10004.asp
13 02 2010

เทคโนโลยีคืออะไร

เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี ผู้คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเครื่องมือเครื่องจักรเชิงกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย แต่ความเป็นจริงคือ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานานตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์นำความรู้จากธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปลงธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระดับพื้นฐานอาทิ การเพาะปลูก การชลประทาน การก่อสร้าง การทำเครื่องมือเครื่องใช้ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เป็นต้น ปัจจัยการเพิ่มจำนวนของประชากร ข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น
เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (คริสต์ศตวรรษที่ 16-17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา


ล้อ เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาตั้งแต่ยุคโบราณ
ส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก กล่าวโดยสรุปดังนี้
1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5
13 02 2010

นวัตกรรมคืออะไร

คำว่า นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1

13 02 2010

โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี


" ... ถนน ความจริงมีจำนวนไม่ขาดแคลน ที่บนถนนไม่ขาดแคลน แต่เล่นรถขวางลำก็จะไม่พอ แต่ถ้าแล่นเรียงคันไปโดยดี โดยมีระเบียบการดี ๆ เข้าใจว่าพอ ไปคำนวณก็ได้ว่าจำนวนรถที่แล่นทุกวันเท่าไหร่ และถนนมีเท่าไหร่ ก็คงจะเห็นได้ว่าพอ สำคัญอยู่ที่ระเบียบการ และสำคัญอยู่ที่กรมตำรวจ ที่กลุ้มใจก็อยู่ที่การแก้ไขนี่มีปัญหา มีอุปสรรค ที่แก้ไขไม่อยู่ที่บุคคล ถ้าแก้ปัญหาบุคคลได้แล้ว คือ บุคคลหมายถึง ท่านทั้งหลายทุกคน แล้วก็แต่ละคนที่ขับรถในท้องถนน ถ้าแก้ไขได้ก็จะแก้ไขปัญหาจราจรได้ ..." พระราชดำรัส ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๗

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงห่วงใยบัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ และได้พระราชทาน พระราชดำริในแนวทาง ตลอดจนวิธีการแก้ไขปัญหาที่ได้ผลสำเร็จมาแล้วอย่างต่อเนื่อง " โครงการพระราชดำริทางคู่ขนานลอยฟ้า " เป็นอีกหนึ่งโครงการ พระราชดำริที่แสดงให้เห็นถึง พระปรีชาญาณที่ทรงมองการณ์ไกลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจรและน้ำพระทัยอันเปี่ยมล้น ด้วยพระเมตตากรุณาที่ทรงมีต่อพสกนิกร เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯเยี่ยมพระอาการประชวร ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่โรงพยาบาลศิริราชช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๓๘ ได้ทอดพระเนตร เห็นปัญหาการจราจรที่ติดขัดเป็นอย่างมากที่บริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ต่อเนื่องไปจนถึงถนนบรมราชชนนี จึงได้พระราชทาน แนวพระราชดำริให้ก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าจากเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ไปยังบริเวณสถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่ อีกทั้งยังทรงมีพระราชดำรัสเพิ่มเติมถึงการจราจรขาออกนอกเมืองตอนหนึ่งว่า
"... หากสร้างสะพานยกระดับขาออกให้ยาวเลยไปจากขนส่งสายใต้ จะมีประโยชน์มาก ...." จากแนวพระราชดำรินี้ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เชิญผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ( ร้อยเอกกฤษฏา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ) และปลัดกรุงเทพมหานคร ( นายประเสริฐ สมะลาภา ) มาประชุมร่วมกันเพื่อสนองพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาการจราจรให้ได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผลการประชุมสรุปได้ว่า กรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าจากแยกอรุณอัมรินทร์ถึงคลองบางกอกน้อย ระยะทางประมาณ ๓.๒ กิโลเมตร และกรมทางหลวงรับผิดชอบก่อสร้างจากคลองบางกอกน้อยไปจนถึงแยกพุทธมณฑลสาย ๒ โดยให้รูปแบบสะพาน เสาและคานมีลักษณะเป็นรูปแบบเดียวกันหมด เป็นระยะทาง ๙.๔ กิโลเมตรและจากบริเวณทางยกระดับสิรินธรไปจนเลยทางแยกพุทธมณฑลสาย ๒ อีก ๑ กิโลเมตร นอกจากนี้ กรมทางหลวงยังได้ก่อสร้างขยายช่องจราจรระดับพื้นราบจากเดิมที่มี ๘ ช่องจราจร เพิ่มขึ้นเป็น ๑๒ ช่องจราจรพร้อมทั้งมีการปลูกต้นไม้ที่เกาะกลาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบตามคำกราบบังคมทูล และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงวางศิลาฤกษ์เริ่มโครงการดังกล่าวในวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๓๙ และเสด็จฯทรงเปิดทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๑ และทรงประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จฯไปตามทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี หลังจากเสด็จพิธีตัดริบบิ้นแถบแพรเปิดทางแล้ว นายศรีสุข จันทรางศุ อธิบดีกรมทางหลวงสมัยนั้น ได้เล่าในภายหลังถึงพระกระแสรับสั่งว่าทรงมีพระราชดำรัสว่า " การก่อสร้างเส้นทางสายนี้ทำได้ยาก การจราจรมีปัญหา ๒ หน่วยงานร่วมกันทำดีมาก ทำสำเร็จได้ ขอชมเชย " นอกจากนี้ยังทรงถามถึงเรื่องทางระบายน้ำบนสะพานว่าทำอย่างไรและ " อยากถามอะไรหน่อย อยากรู้มานาน การระบายน้ำ ระบายอย่างไร " ซึ่งอธิบดีกรมทางหลวงได้กราบบังคมทูลถวายรายงาน จากนั้น ทรงพระกรุณาฉายภาพอธิบดีกรมทางหลวงและปลัดกรุงเทพมหานครที่ยืนคู่กัน ณ บริเวณ Joint ซึ่งเป็นที่ปลาบปลื่มแก่บุคคลทั้งคู่ยิ่งนัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงเล่าว่า พระองค์เสด็จฯแปรพระราชฐานไปหัวหินตั้งแต่ถนนยังไม่ลาดยาง จนมีการพัฒนาเรื่อยมา ขณะนี้ สามารถเสด็จฯ ไปหัวหินได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
สำหรับรายละเอียดโครงการก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงนั้น เริ่มตั้งแต่ตอนชุมทางต่างระดับสิรินธร-แยกพุทธมณฑล กม.๓+๓๘๖ ถึง กม.๑๓+๒๐๐ บนทางหลวงหมายพิเศษหมายเลข ๓๓๘ สายบางกอกน้อย - นครชัยศรี ระยะทางประมาณ ๙.๔ กิโลเมตร โดยลักษณะโครงการเป็นสะพานยกระดับสูง ๑๕.๐๐ เมตร กว้าง ๑๙.๕๐ เมตร ขนาด ๔ ช่องจราจร แยกทิศทางไปกลับข้างละ ๒ ช่องจราจร กว้างช่องละ ๓.๕๐ เมตร มีทางขึ้นลง ๒ แห่ง นอกจากนี้ ยังขยายถนนในระดับพื้นล่างเพิ่มจาก ๘ ช่องจราจร แบ่งเป็น ๑๒ ช่องจราจร แบ่งเป็นช่องทางด่วน ๖ ช่องจราจร กว้างช่องละ ๓.๕๐ เมตร และทางคู่ขนานด้านละ ๓ ช่องจราจร กว้างช่องละ ๓.๐๐ เมตร พร้อมทั้งก่อสร้างสะพานกลับรถ ( U- Turn ) อีก ๒ แห่งเพื่อใช้กลับรถด้วย
กรมทางหลวงเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างเอง โดยว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการ ๓ ราย คือบริษัทบุญชัยพาณิชย์ ( ๑๙๗๙ ) จำกัด ก่อสร้างตอนที่ 1 บริษัท พี พี ดี คอนสตรัคชั่น จำกัด ก่อสร้างตอนที่ ๒ และบริษัทอิตาเลี่ยนไทยดีเวล้อปเม้นต์ จำกัด ( มหาชน ) ก่อสร้างตอนที่ ๓ โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น ๔,๔๖๑,๖๐๙,๖๘๐ บาท ระยะเวลาในการก่อสร้าง ๖๐๐ วัน เริ่มต้นสัญญาวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๓๙ สิ้นสุดสัญญาวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๑
หลังจากที่โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าจากชุมทางต่างระดับสิรินธร - แยกพุทธมณฑลสาย ๒ แล้วเสร็จ และเปิดดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ได้ช่วยระบายการจราจรจากพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ ผ่านสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สู่ถนนบรมราชชนนี ถนนสิรินธร ทางหลวงพิเศษสายบางกอกน้อย - นครชัยศรี ให้สามารถสัญจรไปมาด้วยความสะดวก รวดเร็วและมีความปลอดภัยยิ่งขี้น เนื่องจากมีช่องจราจรรองรับถึง ๑๖ ช่องจราจร และยิ่งเพิ่มความคล่องตัว ให้กับยานพาหนะที่จะใช้เส้นทางนี้เดินทางสู่ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง และพื้นที่ระหว่างชานเมืองอื่น ๆ ในบริเวณดังกล่าว ให้มีการจราจรสะดวก คล่องตัวเป็นการช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและปัญหาสุขภาพจิตอันเนื่องมาจากการจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดี และนี่คือความปลาบปลี้มและภาคภูมิใจของกรมทางหลวง ที่ได้มีโอกาสสนองพระกรุณาธิคุณพระบาทสทเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสร้างทางตามแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรคับคั่งของกรุงเทพ ฯ
13 02 2010

โครงการพัฒนาดอยตุง



โครงการพัฒนาดอยตุง ( พื้นที่ทรงงาน )อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
ความเป็นมา


สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เคยทรงมี พระราชปรารภกับผู้ที่ตามเสด็จหรือผู้ที่เข้าเฝ้าฯ หลายๆท่านว่าพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหาหน่วยงานและประชาชนมาร่วมปลูกป่า ทั้งนี้ เพราะทรงมีประราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะเห็นป่าของเมืองไทยมีความอุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นและมีพรรณไม้ที่มีดอกอันสวยงาม แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ยังไม่ปรากฎเป็นรูปธรรมจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุมากแล้วรัฐบาลและประชาชนต่างมีความห่วงใยและเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจะทรงมีที่ประทับในประเทศไทยแทนการแปรพระราชฐานไปประทับในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในทุกรอบ 2 ปี หลังจากทรงพักพระราชกรณียกิจ ดังนั้น สํานักงานราชเลขานุการในพระองค์จึงได้พยายามหาสถานที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกสร้างที่ประทับและในปี พ.ศ.2530 นายดํารง พิเดชหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำ 31 ได้นํา ม.ร.ว.ดิศนัดดาดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ มาตรวจดูสภาพดอยบริเวณบ้านอีก้อป่ากล้วย ตําบลแม่ไร่ อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากาศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอแลนด์ ซึ่งพระองค์สามรถทรงงานเพื่อก่อประโยชน์ได้ จึงได้นําความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท

ในวันที่ 15 มกราคม 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินีได้เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนา มาทอดพระเนตรบริเวณที่เห็นสมควรจะสร้างพระตําหนัก ทั้งสองพระองค์ทรงโปรดสถานที่แห่งนี้และได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า " ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง " และเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้ บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้นพร้อมด้วยพลเอก จรวย วงศ์สายัณห์ เสนาธิการทหารบก ได้เข้าเฝ้าเพื่อถวายรายงานความเรียบร้อยของการจัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีรับสั่งถึงประสบการณ์ที่ทรงปลูกป่าบนดอยตุง ใกล้กับพระตําหนักภูพิงค์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ และทรงมีรับสั่งต่อว่าพระองค์ฯเคยเสด็จฯขึ้นมานมัสการพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เสด็จฯมาจังหวัดเชียงราย โดยมาประทับที่สถานีประมง จังหวัดพะเยา ในปี 2509 ซึ่งครั้งนั้นพระองค์ทรงเห็นสภาพบนดอยตุงเป็นสภาพป่าไม้ที่ถูกตัดทําลายโดยการทําไร่เลื่อนลอย และทําการปลูกฝิ่นเป็นอาชีพ รวมทั้งทรงเห็นสุขภาพอนามัยของประชาชนที่เสื่อมโทรม และเด็กไร้การศึกษาทรงมีพระราชปรารภว่า " อยากจะไปปลูกป่าบนดอยตุงแต่คงจะต้องใช้ระยะเวลานานมากอาจจะ 10 ปี ซึ่งฉันคงไม่ได้เห็น " พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จึงกราบทูลว่าจะพยายามทําให้สําเร็จภายใน 5 ปี ซึ่งพระองค์พอพระทัยมาก พระราชดําริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี ดังกล่าวข้างต้น ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รายงานเรื่องนี้ต่อรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ ท่านนายกฯ ได้เห็นชอบและอนุมัติให้ดําเนินการตามโครรงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน2530 และในวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุงจังหวัดเชียงรายขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการและจัดทําแผนงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาต่างๆ พร้อมทั้งได้สั่งให้นําเสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2531 ให้เความเห็นชอบในการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย ปีพ.ศ.2531-2533 และต่อมาได้มีการขยายเวลาการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุงออกไปอีกเป็น 3 ระยะคือระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2534-2536 ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2537-2545 ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี 2546-2560 นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการดําเนินการตามโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่26 เมาายน 2531 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายสําหรับทรงงาน จํานวน 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,737 ไร่ มีกรอบแนวทางดําเนินการและหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้


1. พื้นที่ที่ 1 บ.ลาบา ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีพื้นที่ 983 ไร่


2. พื้นที่ที่ 2 หน่วยย่อยป่าไม้ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,390 ไร่


3. พื้นที่ที่ 3 บ.จะลอ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 175 ไร่


4. พื้นที่ที่ 4 บ.ผาหมี ต.เวียงพางคํา อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 2,464 ไร่


5. พื้นที่ที่ 5 พื้นที่บริเวณรอบพระตําหนักดอยตุง กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,963 ไร่


6. พื้นที่ที่ 6 พื้นที่ระหว่างบริเวณ หลังวัดน้อยดอยตุง และบ.อีก้อผาฮี้ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 730 ไร่ในเวลาต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีกรวมเป็น 27 หมู่บ้าน รวมเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุงประมาณ 93,515 ไร่

โครงการปลูกหญ้าแฝก



"...ทุกคนควรจะได้สนใจสังเกต ศึกษาเรื่องราว บุคคลและสิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อมและเกี่ยวข้องกับตัวเองให้มากอย่าละเลยหรือมองข้ามแม้แต่สิ่งเล็กน้อยเช่น ต้นหญ้า ซึ่งถ้าศึกษาพิจารณาให้ดีก็จะก่อให้เกิดปัญญาได้ หญ้านั้นมีทั้งหญ้าที่เป็นวัชพืชซึ่งเป็นโทษ และหญ้าที่มีคุณอย่าง "หญ้าแฝก"ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ เพราะมีรากที่หยั่งลึกแผ่กระจายลงไปตรง ๆ ทำให้อุ้มน้ำและยึดเหนี่ยวดินได้มั่นคงและมีลำต้นชิดติดกันแน่นหนา ทำให้ดักตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี..." พระบรมราโชวาท ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐
ความเป็นมา
การชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนี่งของประเทศ มีผลต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหา จึงพระราชทานพระราชดำริให้มีการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ
เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขี้น เนื่องจากหญ้าแฝกเป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย มีรากที่ยาว แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผง และง่ายต่อการรักษา เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเป็นครั้งแรกให้หน่วยงานต่าง ๆ ทำการศึกษา ทดลอง และดำเนินการปลูกหญ้าแฝกเพื่อเป็นการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและเพื่อประโยชน์อื่น ๆ หน่วยงานทั้งหลายจึงได้รับสนองพระราชดำริตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาโดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เป็นผู้ประสานงาน
พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝกมีใจความสรุปได้ว่า
๑. หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมา ศึกษาทด ลองปลูก ให้ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง ๒. การดำเนินการทดลองการปลูกหญ้าแฝก ให้พิจารณาลักษณะของภูมิประเทศ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของพื้นที่ดังนี้


ก. การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินและช่วยเก็บความชื้นในดินไว้ด้วย
ข. การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ราบ ให้ดำเนินการในลักษณะดังนี้
- ปลูกโดยรอบแปลง
- ปลูกลงในแปลง แปลงละ ๑ หรือ ๒ แนว


- สำหรับแปลงพืชไร่ ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่


ค. การปลูกหญ้าแฝกรอบสระน้ำ เพื่อป้องกันอ่างเก็บน้ำมิให้ตื้นเขินอันเนื่องมาจากตะกอนจากการพังทลายของดิน ตลอดจนช่วยรักษาดินเหนืออ่างและช่วยให้ป่าไม้ในบริเวณพื้นที่รับน้ำทวีความสมบูรณ์ขี้นอย่างรวดเร็ว


ง. การปลูกหญ้าแฝกเหนือบริเวณแหล่งน้ำ ปลูกแฝกเป็นแนวป้องกันตะกอนดินและกรองของเสียต่าง ๆ ที่ไหลลงในแหล่งน้ำทั้งนี้ให้บันทึก ก่อนดำเนินการและหลังการดำเนินการไว้เป็นหลักฐาน
๓. ผลของการศึกษาทดลอง ควรเก็บข้อมูลทั้งทางด้านการเจริญเติบโตของลำต้นและราก ความสามารถในการอนุรักษ์ความสมบูรณ์ของดินและการเก็บความชื้นในดินและเรื่องพันธุ์หญ้าแฝกต่าง ๆ
ด้วยกรมทางหลวงเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ รวมไปถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการชะล้างพังทลายของดินเชิงลาดถนน ได้ร่วมในโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยได้กำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานด้านบำรุงทางและก่อสร้างทาง โดยเฉพาะทางหลวงที่ตัดใหม่ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินลาดคันทางและลาดเหนือคันทางในสายทางต่าง ๆ พร้อมทั้งส่งเสริมแผยแพร่ข้อมูลเทคนิควิชาการเกี่ยวกับหญ้าแฝกแก่หน่วยงานในส่วนภูมิภาค และจัดทำวิดีทัศน์โครงการปลูกหญ้าแฝกเกี่ยวกับการประยุกต์ เทคนิควิธีการปลูกหญ้าแฝกในงานทาง
พื้นที่เป้าหมายใการดำเนินการปลูกหญ้าแฝกของกรมทางหลวงคือ เชิงลาดดินตัดเหนือคันทาง (Back Slope) เชิงลาดดินถมคันทาง (Side Slope) ที่สูงและมีแนวโน้มที่จะเกิดการชะล้างพังทลายของดิน สำหรับสายทางในพื้นที่ ภูเขา ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยดินทรายที่สลายตัวมาจากหินแกรนิตและหินทราย เป็นพื้นที่เป้าหมายเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและการอนุรักษ์ดิน การปลูกหญ้าแฝกบริเวณเชิงลาดทางมีอยู่ ๒ ลักษณะ ขึ้นอยู่กับสภาพความรุนแรงหรือแนวโน้มของการจะเกิดการชะล้างพังทลายของเชิงลาดทางคือ
๑. การปลูกในพื้นที่เชิงลาดที่มีแนวโน้มของการเกิดการชะล้างพังทลายของดินต่ำ การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เชิงลาดนี้เป็นรูปแบบการปลูกโดยทั่วไปมีลักษณะการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขวางแนวลาดเท โดยมีระยะห่างระหว่างกอกล้าแฝกในแถวอยู่ในช่วง ๑๐ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถวที่ปลูกตามแนวลาดเท ประมาณ ๑.๐๐ เมตร
๒. การปลูกในพื้นที่เชิงลาดที่ได้เกิดการชะล้างพังทลายหรือมีแนวโน้มของการเกิดการชะล้างพังทลายของดินสูง การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลักษณะนี้เพื่อลดหรือป้องกันไม่ให้การพังทลายของดินเกิดลุกลามขยายตัวรุนแรงขึ้น หรือเป็นการปลูกในงานก่อสร้างแก้ไขการเคลื่อนตัวของดิน ลักษณะการปลูกจะลดระยะห่างระหว่างกอกล้าแฝกในแถวเป็น ๕ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถวที่ปลูกตามแนวลาดเทประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
จากการดำเนินการโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกของกรมทางหลวง สามารถสรุปผลการดำเนินการได้ดังนี้
๑. การปลูกหญ้าแฝกบริเวณพื้นที่เชิงลาดถนนสามารถป้องกันหรือลดการชะล้างพังทลายของดินได้ และเป็นวิธีการที่ใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ราคาถูกให้ ผลทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี


๒. การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็น "Long Term Stabilized Slope" ในสภาวะที่เหมาะสมหลังการปลูกเป็นเวลา ประมาณ ๑ ปี หรือ ๑ ฤดูฝน หญ้าแฝกจึงจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินได้ เนื่องจากรากจะเจริญเติบโตยาวประมาณ ๑ เมตร และกอหญ้าแฝกในแถวจะเจริญเติบโตชิดติดกัน


๓. ช่วงระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกหญ้าแฝกเป็นช่วงตันฤดูฝนหรือช่วงระยะเวลาในฤดูฝน


๔. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การปลูกหญ้าแฝกประสบผลสำเร็จจ ได้ผลดีมีอัตราการรอดตายสูง คือ ช่วงระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสม การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ภาคใต้ได้ผลดี เนื่องจากมีฤดูฝนยาวนานถึง ๗ เดือน


๕. การปลูกหญ้าแฝกในบริเวณลาดดินถมคันทาง (Side Slope) จะได้ผลดี หญ้าแฝกมีการเจริญเติบโตดีกว่าการปลูกบริเวณลาดดินตัดเหนือคันทาง (Back Slope) เนื่องจากสภาพความสมบูรณ์และลักษณะความแน่นของดิน


๖.หลังการปลูกหญ้าแฝกมีความจำเป็นที่ต้องดูแลรักษา กำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ย เป็นเวลา ๑ - ๒ ปี


๗. การปลูกหญ้าแฝกในบริเวณที่มีแนวโน้มที่จะเกิดการชะล้าง พังทลายของดินได้สูงหรือรุนแรงหรือบริเวณที่ได้เกิดการเคลื่อนตัวของดินแล้วให้ลด ระยะห่างของการปลูกลงโดยมีระยะห่างระหว่างกอแฝก ๕ เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถว ๕๐ เซนติเมตร


๘. กล้าหญ้าแฝกที่ปลูกควรเป็นกล้าแฝกที่ปลูกชำในถุงพลาสติกที่อภิบาลไว้ก่อนนำไปปลูกประมาณ ๔๕ - ๖๐วัน


๙. การปลูกหญ้าแฝกในบางพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ภาคเหนือหญ้าแฝกไม่เจริญเติบโตหรือเจริญเติบโตไม่ดี เนื่องจากหญ้าในพื้นที่หรือวัชพืช เจริญเติบโตงอกงามและแพร่พันธุ์ได้เร็วกว่า




13 02 2010

เศรษฐกิจแบบพอเพียง




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้
"….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…"
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ
ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม ตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย สะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ “จิตวิญญาณ” คือ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข (Maximization of Satisfaction) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกำไร (Our loss is our gain) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง “คุณค่า” จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทำลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น “ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด” และขจัดความสำคัญของ “เงิน” ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ (Demonstration Effects) จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย จะทำให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน (Over Consumption) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่ร่ำรวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสำหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ “บุคคล” กับ “ระบบ” และปรับความต้องการที่ไม่จำกัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกำไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบสังคม การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคำพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ที่ว่า “…ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร” ในการผลิตนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้ จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทำโครงการแต่ไม่ได้คำนึงว่าปัจจัยต่าง ๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกล หรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก หรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาด ขายได้ในราคาที่ลดลง ทำให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้ 1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย 2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ 3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้ การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ “คุณค่า” ให้มากกว่า “มูลค่า” ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า “…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…” การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ (Awareness) ในทุกคราเมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้สามารถกระทำได้ การ ตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ได้แก่ “….ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกัน ทำได้….” ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน (Interest) หลายท่านคงได้ยินหรือรับฟัง โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการน้ำสามรส ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น ล้วนเชิญชวนให้ ติดตามอย่างใกล้ชิด แต่พระองค์ก็จะมีพระราชาธิบายแต่ละโครงการอย่างละเอียด เป็นที่เข้าใจง่ายรวดเร็วแก่ประชาชนทั้งประเทศ ในประการต่อมา ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล (Evaluate) ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า “….ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือกับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ถูกที่ควร….” ในขั้นทดลอง (Trial) เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่ซึ่งในบางกรณีหากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึงนำออกเผยแพร่แก่ประชาชน เป็นต้น ขั้นยอมรับ (Adoption) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่ม เพาะ และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่น ๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้รับผลดีต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร แนวพระราชดำริทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา ตรากตรำพระวรกาย เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรยั่งยืนนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทยตลอดเวลามากกว่า 50 ปี จึงกล่าวได้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นสมควรอย่งยิ่งที่ทวยราษฎรจักได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ตามที่ทรงแนะนำ สั่งสอน อบรมและวางแนวทางไว้เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนเช่นกัน โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขึ้นตอนต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตาหลักวิชาการ เพื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริม ความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืนและจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป 2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) 3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด
" การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง "
"เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"

http://www.prdnorth.in.th/The_King/justeconomic.php
13 02 2010